1. ภาครัฐมุ่งเน้นเรื่องการรักษาให้ความสนใจเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาต้นเหตุน้อยและยังไม่มีประสิทธิภาพ
2. รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการรักษาการเบิกจ่ายจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ที่มิใช่เชิงการป้องกัน จึงเป็นการ “บริการแบบตั้งรับ” เป็นส่วนใหญ่
3. เอกชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพค่อนข้างน้อย จากแนวความคิด “เจ็บค่อยจ่าย”
1. ด้านนโยบาย วิสัยทัศน์ องค์กร ที่เน้นให้ความสำคัญต่อบุคลกรสูง ตลอดจนการบริหารจัดหน้าที่ชัดเจน
2. ด้านระบบนิเวศขององค์กร จัดให้มี สถานที่เอื้ออำนวย ต่อการส่งเสริมสุขภาพ
3. ด้านกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ เป็นการจัดกิจกรรม ออกกำลังกาย การตรวจสุขภาพชุมชน การเก็บข้อมูลการเจ็บป่วย การสร้างกิจกรรมรณรงค์ โดยให้ครอบคลุมใน 3 มิติ คือ บุคลากรขององค์กร ครอบครัว ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวอย่างการดูแลด้านสุขภาพของเอกชน เช่น การจัดให้มีสถานพยาบาลในองค์กร การบริการตรวจสุขภาพประจำปี การจัดให้มีบริการตรวจสุขภาพจิต ความเครียด และการออกแบบชีวิต การจัดกิจกรรมความความรู้และรณรงค์ด้านสุขภาพ การจัดสถานที่ให้มีการออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก การบริโภค และการสนับสนุนการดูสุขภาพเพื่อสังคม
ถอดบทเรียนจาก การบรรยายของ คุณสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย
ในการเสวนาวิชาการ Chula Health and Well-being at Work Forum 2023
วันที่ 14 มีนาคม 2566 ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย